วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

3G เร็วสะใจ พร้อมใช้แค่ไหนแล้ว?

เชื่อว่ากระแส 3G ที่กรอกหูคุณกันอยู่คงทำให้คุณสนใจไม่ใช่น้อย แต่ก็ไม่ทุกคนหรอกนะครับที่ทราบว่า 3G นั้นคืออะไร และจะใช้งานได้มากน้อยขนาดไหน

จริงแล้วความหมายของ 3G คือโครงข่ายมือถือที่รับส่งข้อมูลได้ในรุ่นที่ 3 ครับ โดยแต่ละรุ่นก็จะแบ่งตามความเร็ว ทำให้ 3G ย่อมมีความเร็วสูงกว่าเทคโนโลยี 2G แน่นอน ส่วนเทคโนโลยีที่อยู่ในระดับของ 3G นั้นก็มีอยู่หลายรูปแบบครับ ตั้งแต่ 3G แท้ หรือเรียกว่า WCDMA ที่ในบ้านเรายังไม่อนุญาตให้ใช้งานได้ ไปจนถึง 3G เทียมที่เรียกว่า HSDPA ซึ่งทำให้งานบนคลื่นความถี่โทรศัทพ์เดิม เพียงแต่ให้ความเร็วที่สูงเทียบเท่า 3G และยังรวมไปถึง EV-DO ที่อยู่บนเครือข่าย CDMA ของ CAT ด้วย แต่ที่นิยมใช้งานกันจริงๆ ในประเทศไทยก็คงจะเป็น HSDPA ที่คุณสามารถใช้งานได้ทันกับซิมเดิมๆ ที่คุณโทรศัพท์อยู่ เพียงแค่ต้องเปิดบริการ 3G และต้องมีอุปกรณ์ที่จะเป็นแอร์การ์ดหรือมือถือก็ตามแต่ที่รองรับการใช้ HSDPA อีกทั้งจะต้องอยู่ในพื้นที่ให้บริการ 3G ของผู้ให้บริการแต่ละรายด้วย ซึ่งในปัจจุบัน ยังมีพื้นที่ครอบคลุมไม่มากนักครับ ตรงนี้อาจจะต้องสอบถามผู้ให้บริการว่ามีพื้นที่ไหนให้บริการบ้าง



นี่ก็เป็นรูปแบบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งกำลังจะกลายมาเป็นรูปแบบใหม่ในการดำเนินชีวิตของคนในยุคดิจิตอลอย่างแท้จริงกันแล้ว แต่อย่างหนึ่งที่ผมอยากฝากไว้ให้กับผู้อ่านทุกคนก็คือ แม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นโลกที่น่าดึงดูดขนาดไหน แม้ว่าเราจำเป็นจะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารเพียงใด ก็อย่าลืมว่าเรายืนอยู่ในโลกของความจำเป็นจริงนะครับ ยังไงก็อย่าเล่นเน็ตจนถึงขั้นติดงอมแงม หันไปคุยกับเพื่อนข้างๆ บ้างก็ดีนะครับ

ขอขอบคุณข่าวจาก arip.co.th
Read more >>

ซอฟต์แวร์ไทย จะไปยุโรป

“อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยมูลค่ากว่า 62,900 ล้านบาท มีเม็ดเงินที่คิดเป็นการลงทุนของซอฟต์แวร์ในประเทศแค่ 367.24 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.58% เท่านั้น ยังไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำไป ขณะที่ปัจจุบันยอดส่งออกซอฟต์แวร์ไทยยังแค่ 4,500 ล้านบาท หากแต่ปีนี้ “โอกาส” สำหรับซอฟต์แวร์ไทยกำลังเป็นกราฟขึ้น เพราะมีหน่วยงานที่พร้อมจะสนับสนุนมากมายในรอบหลายปี”

สุวิภา วรรณสาธพ ผู้อำนวยการ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค อัพเดตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในสายตาต่างชาติ ให้ฟังว่า “การ์ตเนอร์กรุ๊ป” ได้ประกาศให้ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 30 ประเทศทั่วโลก เป็นแหล่งรับพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความน่าสนใจมากที่สุดโดยยกให้ไทยเป็น "New Comer" ซึ่งถือเป็นปีแรกที่ไทยได้เข้าไปมีบทบาทสร้างชื่อในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ระดับโลก

"ถือเป็นปีแรกที่ไทย กำลังได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตที่เกิดขึ้น ทำให้ตลาดในยุโรปให้ความสนใจประเทศในเอเชียเป็นพิเศษ โดยไทยเองก็มีหลายประเทศมองเห็น ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทซอฟต์แวร์ที่ได้มาตรฐาน CMMI ซึ่งเป็นการให้มาตรฐานของบริษัทซอฟต์แวร์ทั่วโลก ขณะนี้เราอยู่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งสิ้นปีนี้เราหวังว่าจะขึ้นไปเป็นที่ 2 ในระดับภูมิภาคให้ได้"

ปัจจุบันมีบริษัทซอฟต์แวร์ในไทยราว 24 บริษัทที่ได้รับมาตรฐานดังกล่าว โดยสิ้นปีนี้ คาดว่า จะมีเพิ่มขึ้นเป็น 40 บริษัท

ส่งซอฟต์แวร์บุกยุโรปปีแรก

ล่าสุด ปีนี้ซอฟต์แวร์พาร์คได้วางแนวทางการรุกตลาดเข้าสู่ยุโรปอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานซีบีไอ (Centre for the promotion of Imports from developing countries: CBI) คัดเลือก 8 บริษัทซอฟต์แวร์ไทยเพื่อเป็นกลุ่มแรกในการทำตลาด

โดยซีบีไอ ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่เป็นองค์กรอิสระขึ้นตรงกับหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศ และมีบทบาทในการพัฒนา ช่วยเหลือการพัฒนาทางด้านการค้า การผลิต การส่งออก ผ่านรูปแบบของการฝึกอบรมทักษะ ที่ปรึกษา การให้เงินสนับสนุน และเป็นองค์กรที่มีพันธมิตรในต่างประเทศทั่วโลก

ข้อตกลงนั้นทางซีบีไอกับซอฟต์แวร์พาร์คจะอยู่ภายใต้สัญญาความช่วยเหลือ 6 ปี คือตั้งแต่ปี 2008-2014 ในชื่อโปรแกรม "CBI IT outsourcing Export Coaching Program"

โครงการนี้ จะเน้นให้ความช่วยเหลือ และเตรียมความพร้อมให้บริษัทซอฟต์แวร์ที่มีศักยภาพในประเทศไทยสามารถเข้าไปทำตลาดในสหภาพยุโรปได้ รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงเทคนิค การตลาด กฎหมาย และจัดหากิจกรรมทางด้านการตลาด เพื่อจัดทำกลยุทธ์และยกระดับความสามารถเทียบเท่ามาตรฐานซอฟต์แวร์ของประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป

เบื้องต้นทางซีบีไอ ได้เข้ามาคัดเลือกตัวแทนซอฟต์แวร์ของไทย โดยความร่วมมือของซอฟต์แวร์พาร์ค และมีบริษัทที่ผ่านการประเมินในปีนี้จำนวน 8 บริษัท ได้แก่ เอ็มเฟค ผู้พัฒนาและให้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรายใหญ่, เอสเอสซี โซลูชัน ผู้นำทางด้านกรีน ซอฟต์แวร์ในระดับโลก โดยเฉพาะโซลูชันด้านการจัดการน้ำ, บริษัทเอไอซอฟต์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านซอฟต์แวร์เพื่อการท่องเที่ยว ระบบการจองตั๋วผ่านอินเทอร์เน็ต, บริษัททีมเวิร์ค ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทางด้านคอราบอเรทีฟ, บริษัทพร้อมท์นาว ผู้ผลิตเกมบนโทรศัพท์มือถือ

บริษัทไทยเควส ผู้นำทางด้านซอฟต์แวร์การจัดการด้านข้อมูลต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีของเสิร์ชเอ็นจิ้นอัจฉริยะ, บริษัท สุวิเทค (SUVITECH) ผู้นำซอฟต์แวร์ด้านโทรคมนาคม, บริษัทไอซ์ โซลูชั่นทำโอเพ่นซอร์ส

เวิร์กชอปร่วมกับมือโปรฯ

โดยเกณฑ์การคัดเลือกนั้น พิจารณาจากบริษัทที่มีศักยภาพ ตั้งแต่ผลประกอบการ กำลังคน ความสำเร็จของบริษัทในตลาดท้องถิ่น และความเป็นผู้ประกอบการ โดยทุกบริษัทต้องผ่านกระบวนการสัมภาษณ์ความพร้อม ศักยภาพและเข้าร่วมการทำเวิร์กชอป ซึ่งทางซีบีไอได้ส่งที่ปรึกษาที่มีความชำนาญด้าน ไอที เอาต์ซอร์สซิ่งในตลาดสหภาพยุโรปจำนวน 2 คนเข้ามาให้ความรู้และคัดเลือกบริษัทซอฟต์แวร์กลุ่มแรกไปตั้งแต่ปลายไตรมาส 3 ปีที่แล้ว จนได้ประกาศผลไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

หลังจากนั้น ทางซอฟต์แวร์พาร์คกับซีบีไอได้ส่งตัวแทนซอฟต์แวร์ทั้ง 8 บริษัทไปอบรมที่เนเธอร์แลนด์ช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ร่วมกับกลุ่มประเทศพันธมิตรในโปรแกรม CBI ITO outsourcing 2008-2012 ทั้งสิ้น 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย, อาร์มาเนีย, ศรีลังกา, ปากีสถาน, โคลัมเบีย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และบังคลาเทศ ทั้งหมด 68 บริษัท

“ถึงวันนี้เราได้ผ่านการฝึกตัวแทนซอฟต์แวร์เพื่อไปบุกตลาดอียู ในขั้นที่ 3 จาก 4 ขั้นตอนที่ตั้งไว้ ซึ่งนับจากนี้ทั้ง 8 รายพร้อมแล้วจะเข้าไปทำตลาดนี้อย่างจริงจัง โดยประเดิมด้วยซอฟต์แวร์ของเอ็มเฟคในงานซีบิท ประเทศเยอรมันที่จะถึงนี้ ซึ่งทางซีบีไอ จะออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพื้นที่การแสดงสินค้าทั้งหมด และหลังจากนั้นบริษัทซอฟต์แวร์ที่เหลือจะได้รับสิทธิ์ในการไปออกงานนิทรรศการต่างๆ ในยุโรปโดยไม่คิดมูลค่าต่อไป” สุวิภา กล่าว

อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทซอฟต์แวร์ทั้ง 8 ราย จะต้องส่งแผนการส่งออก (Export Marketing Plan) ในปีนี้ให้กับซีบีไอและซอฟต์แวร์พาร์คพิจารณา ซึ่งทั้งสองหน่วยงานจะส่งทีมที่ปรึกษาเข้าไปปรับแต่งทางกลยุทธ์ เพื่อทำให้แผนมีความเป็นไปได้ในการทำตลาดสหภาพยุโรปอย่างเป็นไปได้สูงสุด







เล็งชิงส่วนแบ่งตลาดซอฟต์แวร์ยุโรป

"ความร่วมมือครั้งนี้ ทำให้ซอฟต์แวร์พาร์ค สามารถรวบรวมฐานข้อมูลผู้ผลิตซอฟต์แวร์ของไทยและแผนการสร้างภาพลักษณ์การตลาดซอฟต์แวร์ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศได้ดีขึ้น ซึ่งจะประกอบไปด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพตลาด กลุ่มผู้ประกอบการ การสนับสนุนทางภาครัฐบาลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่กลุ่มลูกค้าในตลาดยุโร ซึ่งปัจจุบันยอดส่งออกซอฟต์แวร์ไทยยังแค่ 4,500 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเล็กมาก"

โดยปัจจุบันตลาดไอที เอาต์ซอร์สในยุโรปมีมูลค่าการตลาดปี 51 สูงถึง 207.2 ล้านล้านยูโร โดยคาดว่าปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 231.2 ล้านยูโร ถือเป็นตลาดใหญ่ ที่เปิดโอกาสให้ทั้ง 8 บริษัทซอฟต์แวร์ไทยได้เข้าไปมีบทบาทในตลาด สร้างแบรนด์ และสร้างธุรกิจนอกประเทศให้มากขึ้น

ด้านความเห็นของทั้ง 8 บริษัทซอฟต์แวร์ หนึ่งใน 8 บริษัทซอฟต์แวร์ไทยให้ความเห็นว่า การบุกตลาดซอฟต์แวร์ในยุโรปครั้งนี้ ถือว่าเป็นการปูทางให้กับบริษัทซอฟต์แวร์ไทยรายอื่นๆ ได้แสดงฝีมือ โดยใน 4 ปีแรกอย่างน้อยทั้ง 8 บริษัทน่าจะได้โปรเจ็กต์ลูกค้ารายละ 1-2 โปรเจ็กต์ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าโปรเจ็กต์ตั้งแต่ระดับแสนยูโร จนถึง 2 ล้านยูโรขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม การเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ แต่ละบริษัทเสียค่าใช้จ่ายบริษัทละ 1 พันยูโรให้กับซีบีไอ ซึ่งจ่ายครั้งเดียวในระยะเวลาโปรเจ็กต์ 6 ปี ขณะที่ซีบีไอจะให้เป็นเงินทุนค่าใช้จ่ายสำหรับการเวิร์กชอปที่ประเทศเนเธอร์แลนด์รายละ 800 ยูโร เท่ากับว่า บริษัทก็เสียค่าใช้จ่ายเพียง 200 ยูโรในโปรเจ็กต์ครั้งนี้ แต่หากทั้ง 8 บริษัทต้องร่วมออกบูธในนิทรรศการงานไอทีในต่างประเทศในช่วง 6 ปี ทางซีบีไอก็อาจจะสนับสนุนเงินบางส่วน ขณะเดียวกัน ทั้ง 8 บริษัทก็อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเองด้วย ซึ่งอยู่กับข้อตกลง หรือการเจรจา

นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์พาร์ค ยังมีโปรเจ็กต์ลักษณะเดียวกันนี้ กับประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศจีนด้วย ซึ่งที่ผ่านมา มีบริษัทซอฟต์แวร์ไทยเข้าไปเปิดตลาดในอเมริกาแล้ว 10 บริษัท ส่วนที่จีนอยู่ระหว่างการคัดเลือก คาดว่าจะทราบผลเร็วๆ นี้

อุปสรรคซอฟต์แวร์ไทย

ขณะที่อีกฟากหนึ่ง กูรูแวดวงซอฟต์แวร์ไทย เคยบอกว่า อุปสรรคสำคัญของอุตฯ นี้ คือ ไม่มีใครให้การสนับสนุนในระยะยาว เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดที่จริงจัง ผู้ประกอบการที่มีแนวความคิดดีๆ ทำซอฟต์แวร์ดีๆ ต้องล้มหายตายจาก หนีไปทำธุรกิจอื่นเพราะทำซอฟต์แวร์ขายแล้วไปไม่รอด ไม่มีทุนที่จะพัฒนาต่อ ไม่มีสถาบันการเงินให้ความเชื่อมั่น

นอกจากซอฟต์แวร์พาร์คจะผลักดันหลายบริษัทซอฟต์แวร์ไทยเข้าสู่ตลาดยุโรปแล้ว ปีนี้ยังมีความร่วมมือระหว่าง สวทช, สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจร่วมทุน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ซอฟต์แวร์พาร์ค, ไทยแลนด์ ไซน์พาร์ค ในการจัดเวทีพบปะระหว่างผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย และแหล่งเงินทุน ครั้งล่าสุด อาจเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะทำให้อุตฯ ซอฟต์แวร์ไทยมีสัดส่วนการลงทุนในประเทศที่มากกว่า 0.58%

จะบอกว่า ปีนี้ เป็นปีแห่งโอกาสของอุตฯ ซอฟต์แวร์ไทยแบบเข้าใกล้ความจริงมากที่สุดก็ว่าได้ จากนี้ไปคงต้องรอพิสูจน์ความสามารถของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ว่าจะไปได้ไกลแค่ไหน...

ขอขอบคุณข่าวจาก arip.co.th
Read more >>

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แฉ!!!ภัยจากร้านซ่อมคอมที่คุณต้องรู้

รายงานข่าวจากเว็บไซต์ SkyNews เปิดเผยเรื่องราวที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินข่าวกันมาบ้าง หรือไม่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจกันมากนัก ประเด็นที่ว่านี้ก็คือ มีการตรวจจับได้ว่า ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์บางแห่งในกรุงลอนดอนเข้าถึงข้อมูลของเจ้าของเครื่องที่ อยู่ในฮาร์ดดิสก์อย่างผิดกฎหมาย โดยพยายามจะแฮคบัญชีธนาคารออนไลน์จากเครื่องคอมที่ลูกค้าส่งซ่อม...



หนึ่ง ในกรณีที่เกิดขึ้นก็คือ ข้อมูลอย่างรหัสผ่าน (password) ที่ใช้ในการล็อกอิน เพื่อเข้าใช้บริการออนไลน์บนเว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนภาพถ่ายส่วนตัวในวันหยุด ของลูกค้าได้ถูกก็อปปี้ออกไปใส่ในแฟลชไดรฟ์โดยนักเทคนิคที่เป็นช่างซ่อมของ ทางร้าน ส่วนอีกกรณีหนึ่ง ลูกค้าถูกหลอกให้จ่ายเงิน โดยที่ทางร้านไม่ได้ทำอะไรเลย และข้อผิดพลาดง่ายๆ กลับถูกวินิจฉัยมั่วๆ (แบบว่า ลูกค้าฟังแล้วไม่เข้าใจ) เพื่อให้รู้สึกว่า มันเป็นปัญหาที่ลูกค้าต้องยอมจ่าย เจ้าหน้าที่สืบสวนจากสถาบันมาตรฐานการค้า (Trading Standard Institute) กล่าวว่า เขาถึงกับช็อคไปเลย เมื่อได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้น



สำหรับ การสืบสวนในคดีนี้ เจ้าหน้าที่ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์เฝ้าระวัง (suveillance software) เข้าไปในโน้ตบุ๊ก ซึ่งมันจะทำงานทุกครั้งที่มีการล็อกอินเข้าไปในเครื่อง โดยที่ผู้ใช้จะไม่ทันระวัง หรือจับสังเกตได้ ทั้งนี้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะจับภาพกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนหน้าจอ รวมถึงภาพใบหน้าของผู้ใช้ผ่านทางกล้องที่ติดมากับเครื่องแบบเรียลไทม์ ทำให้ฝ่ายสืบสวนสามารถระบุได้ว่า มีใครบ้างที่ยุ่งเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และได้ทำอะไรกับเครื่องคอมพิวเตอร์บ้าง



ทีม งานได้ทำให้เครื่องมีปัญหาในลักษณะที่สามารถตรวจสอบวินิจฉัยได้ง่าย โดยปลดชิปหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องให้หลวม ซึ่งทำให้ไม่สามารถโหลด Windows ได้ ซึ่งการแก้ไขให้เป็นปกติก็เพียงแค่กดชิปหน่วยความจำในเครื่องเข้าไปในคอนเน็คเตอร์ให้แน่นก็เป็นอันเรียบร้อย โดยทีมงานได้เลือกร้านซ่อมคอมไว้ 6 แห่งด้วยกัน แทบทุกร้านวินิจฉัยอาการแบบมั่วๆ หรือไม่ก็เรียกค่าบริการซ่อมแพงเกินกว่าเหตุยกเว้นร้านเดียว



กรณี ของการกระทำผิดที่ร้ายแรงที่สุดก็คือร้านที่ชื่อว่า Revival Computers ในแฮมเมอร์สมิธ ทางฝั่งตะวันตกของกรุงลอนดอน หลังจากที่ทางร้านตรวจพบข้อบกพร่องที่แท้จริง วิศวกรทางร้านโทรกลับมารายงานว่า คอมพิวเตอร์ที่ส่งซ่อมต้องได้รับการเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ ซึ่งมีราคา 130 ปอนด์ (ประมาณ 7,300 บาท) นอกจากการโก่งค่าซ่อมแบบไร้เหตุผลนี้แล้ว ซอฟต์แวร์เฝ้าระวังที่ติดไปกับเครื่องยังสามารถบันทึกได้ว่า หนึ่งในนักเทคนิคที่ซ่อมเครื่องได้สืบค้นไฟล์ต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์ รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคล ภาพถ่ายส่วนตัวในวันหยุดของเจ้าของเครื่องดังที่อยู่ในชุดบิกินี่ ซึ่งระหว่างที่แอบเปิดดูไฟล์ต่างๆ เขายังยิ้มอย่างมีความสุข และโชว์ภาพให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นได้ดูด้วย
หลังจากดูภาพอย่างสนุก สนานแล้ว ช่างเทคนิคคนที่สองดึงเครื่องไปดูภาพต่างๆ ที่อยู่ในโฟลเดอร์ที่ระบุชัดเจนว่า "private" (ส่วนตัว) จากนั้นเขาเอาแฟลชไดรฟ์ของตัวเองมาต่อกับโน้ตบุ๊ก เพื่อก็อปปี้ไฟล์ต่างๆ ออกไป รวมถึงพาสเวิร์ด และรูปภาพเข้าไปในโฟลเดอร์ที่มีชื่อว่า "mamma jammas" หนึ่งในไฟล์ที่ถูกก็อปปี้ไปนั้นจะมีไฟล์ข้อความที่จัดเก็บพาสเวิร์ดสำหรับ เข้าไปใช้บริการ Facebook, Hotmail, eBay และบัญชีธนาคาร NatWest เมื่อนักเทคนิคที่เป็นช่างซ่อมพบข้อมูลดังกล่าว เขาไม่รอช้าที่จะเปิดเว็บบราวเซอร์บนโน้ตบุ๊ก และพยายามล็อกอินเข้าไปในบัญชีธนาคารของลูกค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องเป็น เวลาประมาณ 5 นาที แต่ก็ไม่สำเร็จ เนื่องจากรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวทางทีมงานได้จัดทำปลอมขึ้นมา ทางร้านปฏิเสธที่จะให้เหตุผลกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับทาง Sky News โดยอ้างไม่ทราบว่ามีข้อกล่าวหาจากการกระทำในลักษณะนี้ด้วย



กล่าว โดยสรุปก็ํคือ การส่งเครื่องให้ซ่องซ่อมคอมพ์อาจจะเจอกับสิ่งที่ไม่คาดฝัน หากทางร้านมีช่องซ่อมที่ไร้จรรยาบรรณ โดยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าของเครื่องมีตั้งแต่เบาสุด คือได้รับคำตอบในการแก้ปัญหาที่มั่วนิ่ม การเก็บค่าบริการซ่อมเกินความเป็นจริง และทีร้ายแรงสุดคือขโมยข้อมูล ตลอดจนพยายามแฮคฯ ในจำนวน 6 ร้านซ่อม มีเพียงแค่ร้านเดียวที่แก้ปัญหาให้โดยไม่คิดค่าบริการอีกด้วย



ขอขอบคุณข่าวจาก arip.co.th
Read more >>

OVI คืออะไรอ่ะ ???

ระยะหลังมานี้ถ้าเราพูดถึงโทรศัพท์โนเกีย เราจะได้ยินคำว่า Ovi บ่อยมาก เพื่อนๆ หลายคนคงจะสงสัยว่าเจ้า Ovi นี่คืออะไร? เพื่อเป็นการไขข้อสงสัย วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Ovi กันค่ะ
Ovi (อ่านว่าโอวี่) มาจากภาษาฟินนิช (ภาษาประจำชาติฟินแลนด์) แปลว่า ประตูค่ะ เอ..หลายๆ คนคงจะสงสัยแล้วนะค่ะ ว่าแล้วเจ้าประตู Ovi นี่จะพาเราไปไหนกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น เพื่อนๆ ลองเข้าไปที่ http://www.ovi.com แล้วจะเห็นหน้าตาของ OVI ที่ว่านี้ค่ะ ภายในเวป Ovi จะมีบริการต่างๆ มากมาย ตั้งแต่เรื่องของ Files, Sync, Mail, Store, Maps รวมถึง N-Gage (ซึ่งเราจะได้รู้จักบริการแต่ละอย่างแบบละเอียดในพาร์ทต่อๆ ไป)



เมื่อ มองจากหน้าเวปคร่าวๆ ก็สามารถสรุปได้ว่า Ovi ก็คือ บริการรูปแบบหนึ่งซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างมือถือโนเกียหรือเครื่องพีซีของคุณ กับบริการของ Ovi ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลด การอัพเดทข้อมูลต่างๆ การรับส่งเมล์ การใช้แผนที่ การแบ็คอัพข้อมูล เป็นต้น ยกตัวอย่างเพิ่มเติม เช่น บริการ Ovi Sync จะทำให้คุณไม่ต้องนั่งเอาสาย Sync ไปเชื่อมต่อเพื่อดาวน์โหลดข้อมูลหากันแล้ว เพียงแค่คุณกดอัพเดทบนเครื่องมือถือของคุณ ข้อมูล ทุกอย่างก็จะ Sync กันได้โดยอัตโนมัติ หรือไม่ว่าจะเป็นบริการ Share Online ที่ปัจจุบันนี้วัยรุ่นวัยเราฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมือง Ovi เค้าใจดีให้พื้นที่ไม่จำกัด ที่สำคัญบริการ Share Online ของ Ovi นั้นสามารถทำผ่านมือถือโนเกียได้เลยทันที ไม่จำเป็นต้องนำรูปเข้าเครื่องพีซีก่อน แล้วค่อยดาวน์โหลด ข้อดีอีกข้อหนึ่งของ Ovi Share online ก็คือ เรื่องของการแชร์ไฟล์ภาพขนาดใหญ่ได้ ถ้าดูรูปเพื่อนแล้วรูปไหนถูกใจก็ดึงไฟล์มาใช้ได้เลย
สนุกกับ Ovi ทันที เมื่อคุณมี account โนเกีย



เมื่อ เปิดหน้าแรกของเวปมา ทางโนเกียจะแนะนำให้เรามี account ของโนเกียก่อน เพื่อง่ายต่อการใช้บริการในลำดับต่อๆไป ซึ่งการสมัคร account นี้ง่ายมาก มีเพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น ที่สำคัญคือ..ฟรี..ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แค่เท่านี้คุณก็จะสามารถใช้บริการ Ovi ได้แล้ว



เป็น อย่างไรกันบ้างค่ะ น่าจะพอรู้จักกับ Ovi กันบ้างแล้ว แต่จริงๆ แล้วอยากจะบอกว่า Ovi นี้มีบริการอีกมากมายที่รอให้พวกเราไปสัมผัส ซึ่งในเมื่อตอนนี้คุณมี account โนเกียเรียบร้อยแล้ว ในตอนหน้าเราจะพาคุณก้าวเข้าไปค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านประตู Ovi นี้ด้วยกัน ว่าใน Ovi นี้จะมีอะไรใหม่ๆ ให้พวกเราได้อินเทรนด์กันบ้าง ^^”

ขอบคุณข้อมูลจาก nokiagang.com
Read more >>

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Profile




ชื่อ : นางสาวศิรดา นามสกุล : มั่งอะนะ
รหัสนักศึกษา : 51SP6940014 ตอนเรียน : ZA


คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ปี 2



ชื่อเล่น : แต้ม วันเกิด : พุธ ที่ 3 พฤษภาคม 2532 เวลา : 13.35 น.
อายุ : 20 ปี กรุ๊ปเลือด : B ส่วนสูง : 167 ซม. น้ำหนัก : 46 กก.
ศาสนา : พุทธ สัญชาติ : ไทย เชื้อชาติ : ไทย



งานอดิแรก : ฟังเพลง อ่านการ์ตูน นอนหลับ
คติประจำใจ : ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน จงอยู่ในปัจจุบันอย่ายึดติดกับอดีต



ศิลปินที่ชื่นชอบ : BigBang


สีที่ชอบ : สีน้ำเงิน สีดำ



>> _My Hi5_ <<
Read more >>